เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) ตอนที่ 2
การรักษาด้วยวิธียืดเอ็น (Stretching)
ขอแนะนำภาพเอ็นฝ่าเท้า (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2) ของมนุษย์เรามาให้ดูอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะสังเกตว่าภาพที่เห็นเป็นลำและมีบางส่วนไปเกาะที่ส้นเท้าและโคนนิ้วเท้า เอ็นฝ่าเท้าอักเสบนั้นส่วนใหญ่เกิดการอักเสบที่บริเวณส้นเท้าที่เอ็นนั้นไปเกาะ โดยเฉพาะปวดมากบริเวณส้นเท้าด้านในที่อยู่ในวงกลม และเขียนคำว่า Heel pain ดังนั้นนอกเหนือจากการรักษาด้วยยา กายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือต่างๆ แล้วหากยังมีอาการอยู่อีก การยืดเอ็น (Stretching) จะมีส่วนช่วยได้มากทีเดียว เพราะการยืดจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นได้มากขึ้น เมื่อเอ็นมีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น เมื่อเวลาใช้งานไม่ว่าจะเดิน วิ่ง กระโดด การอักเสบก็จะเกิดได้ยากขึ้นกว่าเดิม
ภาพที่ 1 |
ภาพที่ 2 |
การยืดเอ็นวิธีที่ 1
ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยถอดรองเท้าข้างที่เอ็นอักเสบออกและให้ท่านนั่งอยู่กับเก้าอี้ที่มีพนักพิง
เอาเท้าข้างที่อักเสบวางบนเข่าอีกข้างหนึ่ง เช่น เอ็นฝ่าเท้าข้างขวาอักเสบ ก็เอาเท้าขวาวางไขว่ห้างไปบนเข่า
ซ้ายเอามือซ้ายจับบริเวณส้นเท้าให้อยู่นิ่งๆ ไม่ให้กระดกขึ้นลงเสมือนการเคลื่อนไหวข้อเท้า เอามือขวาจับบริเวณโคนนิ้วเท้าทุกนิ้ว แล้วพยายามยืดให้บริเวณฝ่าเท้าตึงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยขอเน้นว่าให้ยึดหรือจับกระดูกส้นเท้าให้อยู่นิ่งด้วยมือซ้าย มือขวานั้นยันโคนนิ้วให้ตึง หรือกระดกปลายนิ้วให้มากๆ จนรู้สึกว่าฝ่าเท่าตึง ให้ทำค้างเอาไว้ 10-15 วินาทีแล้วพัก ทำติดต่อกัน 15-20 ครั้ง ถือเป็น 1 เซ็ท ท่านสามารถทำได้ 2-3 เซ็ท ต่อ 1 วัน หากท่านไม่มีความเจ็บปวดมากขึ้น ท่านอาจทำมากกว่านั้น
การยืดเอ็นวิธีที่ 2
ดูภาพที่ 3 สมมุติว่ามีการอักเสบของเอ็นฝ่าเท้าข้างขวา ท่านยืนด้วยท่าทางตามภาพ และพยายามถ่ายน้ำหนักให้ ลดลงไปบนฝ่าเท้าขวาให้มาก จะรู้สึกว่าเอ็นฝ่าเท้าตึงๆ ให้ทำค้างเอาไว้ 10-15 วินาทีแล้วพัก ทำติดต่อกัน 15-20 ครั้ง ถือเป็น 1 เซ็ท ท่านสามารถทำได้ 2-3 เซ็ท ต่อ 1 วัน หากระหว่างทำนั้นท่านไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ ผิดปกติ
|
ภาพที่ 3 |
การยืดเอ็นวิธีที่ 3
ดูภาพที่ 4 สมมุติท่านมีอาการปวดส้นเท้าด้านซ้าย ท่านต้องหาอุปกรณ์เป็นเสมือนป้ายชื่อลักษณะสาม เหลี่ยมตามยาว ท่านถอดรองเท้าออกก่อน และให้โคนนิ้วทุกนิ้วอยู่ตรงจุดที่เอียงขึ้นไป ท่านต้องงอเข่าเหมือนกับภาพในรูปที่ 3 แต่สลับเอาเท้าซ้ายมาไว้ด้านหน้า หากไม่มีไม้สามเหลี่ยมแบบป้ายชื่อ ท่านอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าครึ่งซีก และเอามาวางแทนไม้สามเหลี่ยม (ป้ายชื่อ) ก็สามารถช่วยเป็นอุปกรณ์ทดแทนได้ สำหรับจำนวนครั้งและเซ็ท ก็คงเป็นเหมือนเดิม
|
ภาพที่ 4 |
ในต่างประเทศมีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ลักษณะนี้ขาย โดยมีมุมที่ลาดเอียงของไม้สามเหลี่ยมสามารถปรับเอียงให้องศามากน้อยต่างกันได้ ซึ่งจะมีผลต่อความตึงของเอ็นฝ่าเท้า ซึ่งก็หมายถึง เอ็นฝ่าเท้าถูกยืดออกได้ดีกว่าเดิม หรือในทางตรงข้าม การปรับลดให้เอียงน้อยลงก็อาจช่วยลดความตึงตัวให้ลดลงกว่าเดิมได้เช่นเดียวกัน เพราะในบางรายหากให้ตึงมากๆ เลยทีเดียว จะทำให้ปวดมากขึ้นและจะทนไม่ไหว
การรักษาด้วยวิธีปกติทั่วไป
การใช้ยา ใช้อุปกรณ์รองใต้ส้นเท้าตรงตำแหน่งที่เจ็บ (Cushion) การใช้วิธีการทางกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ พิเศษต่างๆ การแช่น้ำอุ่นๆ ให้พอทนได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็ยังคงเป็นเสาหลักของการรักษาเอ็นฝ่าเท้าอักเสบอยู่ ยิ่งหายช้า ยิ่งต้องใช้วิธีการหลายๆ อย่างช่วยกันรักษา และยิ่งใช้เวลาในการรักษามากขึ้นกว่ารายทั่วๆ ไป และ ที่สำคัญที่ผมขอเน้นอีกครั้งว่าการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์ ฉีดบริเวณที่อักเสบและปวด ไม่ขอแนะนำให้เป็นวิธีแรกๆ เราจะเก็บเอาไว้ใช้ในรายปวดรุนแรงหรือในรายที่เป็นเรื้อรังเป็นเวลานานๆ มาแล้ว
สุดท้ายโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบนี้ หากเป็นเวลานานๆ มาแบบเรื้อรังแล้ว ท่านก็อย่างเพิ่งใจร้อน เวลาเฉลี่ย ส่วนใหญ่จะนานถึง 4-6 เดือนกว่าจะหาย แต่มีข้อดีที่เกิดจากสถิติในการรักษาโรคนี้พบว่าประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์จะหายขาดได้ โดยต้องปฏิบัติตนเหมือนอย่างที่ได้แนะนำไปแล้ว
Email : paisal@bangko khospital.com |
พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือ Plantar fasciitis
เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง สาเหตุที่สำคัญคือมีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า สืบเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า โดยการบาดเจ็บนี้ เป็นการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สะสมมานาน มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดและมีจุดกดเจ็บใต้ส้นเท้าโดยเฉพาะทางด้านใน (ดังรูป)
อาการปวดจะเป็นมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการจะดีขึ้น
การรักษา
1. การรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
2. การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ การวางแผ่นร้อน การทำอัลตราซาวน์ เป็นต้น
3. การออกกำลังเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย (ดังรูป) โดยทำวันละ 2 - 3 รอบๆ ละ 10 - 15 ครั้ง
0 comments:
Post a Comment